วัดเจดีย์หลวง-วัดพันเตา
  วัดพระสิงห์
  ถนนคนเดินท่าแพ
  ไหว้พระ 9 วัด
  อนุสารีย์สามกษัตริย์ + หอศิลป์
  ขัวเหล็กและริมน้ำปิง
  ดอยสุเทพ
  เส้นทางจักรยานที่น่าสนใจนอกเมือง
 

• วัดเจดีย์หลวง-วัดพันเตา (ระยะทางประมาณ 800 เมตร)
 

 

           วัดเจดีย์หลวงเป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1934 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่

 

 

 

 

           วัดพันเตา ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ติดกับวัดเจดีย์หลวง วิหารเดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ เป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือซึ่ง มองดูวิจิตรและสง่างาม ไม่ปรากฏว่าวัดพันเตาสร้างขึ้นเมื่อใด มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าได้ใช้เป็นที่ตั้งเตาหลอม ในการหล่อพระอัฏฐารสในวิหารวัดเจดีย์หลวง จึงได้ชื่อว่าวัดพันเตา ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๓๔๘ สาธุคัมภีระวัดพันเตาได้ถูกยกขึ้นเป็นสวามีสังฆราชาตั้งแต่นั้นมา วัดพันเตาคงมีความสำคัญมาก จนได้เป็นหัวหน้าหมวดอุโบสถ แม้แต่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดใหญ่ก็ยังขึ้นอุโบสถวัดพันเตาด้วย วิหาร เป็นวิหารไม้สักขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นอาคารทรงพื้นเมืองล้านนา เดิมเป็นหอคำหรือคุ้มหลวงของเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ในราชวงศ์กาวิละ ลำดับที่ ๕ โดยเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้รื้อและนำมาปลูกสร้างอุทิศถวายวัดพันเตาขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และกำหนดขอบเขตของวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐


           ทางจักรยาน - จากด้านหน้ากอดเชียงใหม่ ขี่ขึ้นไปทางเหนือ (ไปทางถนนราชมรรคา) 200 เมตร เจอถนนราชมรรคาให้เลี้ยวขวา ทางซ้ายมือผ่านร้านอาหารพื้นเมืองภาคเหนือชื่อดัง (ร้านเฮือนเพ็ญ) ขี่ผ่านไปประมาณ 400 เมตรจะเจอสี่แยก (ชื่ออะไร?) ให้เลี้ยวซ้ายขึ้นเหนือไปทางถนนพระปกเกล้า ผ่านไปประมาณ 200 เมตรก็จะเจอวัดเจดีย์หลวงอยุ่ทางด้านซ้ายมือ หรือจะเลยจากวัดเจดีย์หลวงไปอีกนิดก็จะเจอกับวัดพันเตา